วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2566

“ZARA ผู้บุกเบิก Fast Fashion จนเป็นแบรนด์แฟชั่นระดับโลก”

 


รูปภาพจาก : https://www.marketingoops.com/campaigns/social-media-marketing-digital/zara-no-model/

    การแข่งขันทางการค้าขายมีมาตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันนี้ ร้านค้ามากมายต่างที่จะงัดเทคนิคลับเพื่อกระตุ้นยอดขายให้กับร้านของตนเอง แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึงร้านเสื้อผ้าเล็กๆที่เติบโตจนเป็นแบรนด์แฟชั่นระดับโลกกัน ซึ่งนั้นก็คือ ZARA เป็นแบรนด์ที่ก่อตั้งเมื่อปี 1975 โดยเจ้าของที่มีชื่อว่า Amancio Ortega เขาได้เริ่มก่อตั้งบริษัทและจ้างผู้หญิงในเมืองจำนวน 100 คน เพื่อมาทำหน้าที่ตัดเย็บ โดยคาแรคเตอร์ของแบรนด์นี้แต่เดิมจะเลียนแบบแฟชั่นแบรนด์หรูหราที่กำลังได้รับความนิยมในตอนนั้น แต่ที่เป็นจุดเด่นเลยคือ ใช้วัสดุที่เรียบง่ายและคุณภาพพอใช้ได้ และราคาที่เข้าถึงได้ สามารถหาซื้อได้ง่าย ในปัจจุบัน ZARA อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท Inditex แฟชั่นกรุ๊ปที่เป็นบริษัทแฟชั่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก แค่เฉพาะ ZARA ก็มีหน้าร้านมากกว่า 2,200 สาขาทั่วโลกโดยยังไม่รวมกับแบรนด์แฟชั่นในเครือของบริษัท เช่น Pull & Bear , Bershka , Stardivarius เป็นต้น และใช้ดีไซน์เนอร์ทั้งหมด 350 คน และมีพนักงานทั้งหมด 4,000 กว่าคน ซึ่งทางแบรนด์ ZARA ก็มีเทคนิคในการขายสินค้าที่ไม่เหมือนใครถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกในวงการแฟชั่นเลยก็ว่าได้



                                            รูปภาพจาก : https://moneyhub.in.th/article/

   

    ในปัจจุบันนี้เราปฏิเสธเลยไม่ได้ว่าแฟชั่นผุดขึ้นมาอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะแบรนด์ไหนก็พยายามที่จะคิดค้นออกแบบเพื่อมาแข่งขันกันในตลาดและเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค แต่ในที่สุด ZARA เขาก็สามารถทำได้และเป็นเจ้าแรกของตลาดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ได้กลายเป็นยักษ์ใหญ่แห่งวงการแฟชั่นโดยใช้เทคนิค fast fashion (fast fashion คือ เสื้อผ้าที่ผลิตตามกระแส ใช้ต้นทุนที่ต่ำ คุณภาพก็จะตามราคาต้นทุน ราคาเข้าถึงง่ายไม่แพง ซื้อง่ายขายคล่อง ไม่เน้นใช้งานระยะยาว)ซึ่งถ้าเป็นปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ธรรมดามากๆแต่ในสมัยก่อนถือว่าเป็นเทคนิคที่ดูเรียบง่ายและเฉียบแหลมของ Amancio Ortega เจ้าของแบรนด์นี้ ซึ่งในแต่ละปี ZARA จะออกคอลเลคชั่นใหม่ทุกๆ 3 สัปดาห์เลย โดยในแต่ละคอลเลคชั่นจะวางจำหน่ายไม่เกิน 1 เดือนและไม่นำคอลเลคชั่นนั้นมาวางขายต่อพูดง่ายๆคือจะไม่มีการผลิตคอลเลคชั่นนั้นมาจำหน่ายซ้ำอีก ในขณะที่แบรนด์อื่นๆจะวางขายในระยะเวลา 4 เดือน ทาง Amancio Ortega เจ้าของแบรนด์นี้ เขาได้วางรากฐานของบริษัทเอาไว้ว่า การที่จะทำ fast fashion ได้สำเร็จความเร็วคือหัวใจสำคัญ สิ่งที่ต้องทำให้ได้คือทำให้เร็วกว่าคู่แข่งและให้สิ่งที่ลูกค้านั้นต้องการ ในขณะที่ H&M คู่แข่งตัวฉกาจที่เปิดร้านมานานกว่าถึง 30 ปี ที่เน้นในการจับมือกับดีไซน์เนอร์เพื่อออกแบบคอลเลคชั่นที่สร้างแบรนด์ให้ดูมีราคา เช่น Disney, Balmain , Kenzo เป็นต้น จะสังเกตุได้ว่าเสื้อผ้าที่มีการคอลแลปกับดีไซน์เนอร์ชชื่อดังหรือบางคอลเลคชั่นจะมีราคาทึ่สูงกว่าเสื้อผ้าธรรมดาในร้านเสียอีก ซึ่งสามารถทำกำไรได้อย่างมากมาย แต่ ZARA ที่เน้นความรวดเร็วและมีสาขาที่มีน้อยกว่าครึ่งของ H&M ก็สามารถทำกำไรได้พอๆกับ H&M เลยทีเดียว ซึ่งคิดว่า ZARA สามารถทำกำไรได้มากกว่านี้เป็นแน่เพราะพวกเขาบุกตลาดออนไลน์พัฒนาระบบต่อเนื่องเพราะในยุคปัจจุบันนี้เรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งโลกออนไลน์ไปแล้วก็ว่าได้



รูปภาพจาก : https://www.therobinreport.com/why-zara-wins-hm-loses-in-fast-fashion/


    นอกจากนี้แนวทางของ ZARA ถือเป็นการเดินเกมที่เหมาะสมมากๆกับตลาดแฟชั่นในปัจจุบัน โดยนักปรัชญาท่านหนึ่ง Immanuel Kant เขาได้กล่าวเอาไว้ว่าแฟชั่นถือว่าเป็นวิถีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ก็เหมือนกับแบรนด์ ZARA ที่ใช้วิธี fast fashion ในการขายสินค้าของตนเอง เพราะผู้บริโภคนั้นมีความต้องการที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตลอดจน ZARA มีคู่แข่งในตลาดค่อนข้างเยอะทำให้ ZARA จะต้องทำให้ไวและเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่าคู่แข่งในหลายๆแบรนด์ แต่ก็ยังสามาถควบคุมคุณภาพของสินค้าได้ถึงจะไม่ได้ดีมากแต่คุณภาพค่อนข้างใช้ได้เลยทีเดียว รวดเร็วไม่เน้นใช้ระยะยาวถ้าเบื่อซื้อเปลี่ยนใหม่ได้ ทำให้การลงคอลเลคชั่นใหม่ๆทุกๆ 3 สัปดาห์เป็นการกอบโกยรายได้ระยะสั้นที่ดีเลยทีเดียว ยังมีอีกปัจจัยนึงที่ทำให้ ZARA สามารถเติบโตและพัฒนาจนเป็นแบรนด์ใหญ่ระดับโลกได้นั่นก็คือ คาแรคเตอร์ของแบรนด์ ที่สามารถมีฐานลูกค้าที่เยอะตั้งแต่เมื่อก่อนเพราะการมาของ ZARA ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “Trickle-down Effect” Trickle-down Effect คือ ทฤษฎีการไหลรินจากบนสู่ล่างจากคนชั้นสูงสู่คนชั้นล่าง ในเมื่อคนทั่วไปอยากที่จะใส่แฟชั่นที่อยู่ในระดับ Hi-End แต่มีงบที่จำกัด แต่ ZARA สามารถเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของบุคคลทั่วไปที่อยากจะได้เสื้อผ้าระดับ Hi-End แต่งบน้อยได้ซื้อได้ใส่กันแต่คุณภาพจะไม่เหมือนกันบุคคลทั่วไปก็พอรับได้แถมได้ใส่เสื้อผ้าแฟชั่นที่ทันสมัยและมาแรงในตอนนั้นด้วย แต่จะบอกว่า ZARA ไม่ใช่แค่มีลูกค้าทั่วไปเท่านั้นแต่มีลูกค้าทุกแบบเลยไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่กระเป๋าหนักจนไปถึงงบน้อยเลยเพราะด้วยราคาที่เข้าถึงได้ทำให้บุคคลทุกแบบสามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วยนั้นเอง และนี่ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้มูลค่าตลาดของ ZARA สามารถเทียบชั้นกับแบรนด์อื่นๆได้จนถึงทุกวันนี้นั่นเอง



 รูปภาพจาก : https://stylecaster.com/fashion/shopping-guides/1029486/zara-fall-2019-collection-late-summer-transitional/


ขอขอบคุณ

อ้างอิง

1.https://www.zara.com/th/th/z-company-corp1391.html

2.https://www.vogue.co.th/fashion/article/zara20facts

3.https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/zara-data-driven-fashion

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

“ZARA ผู้บุกเบิก Fast Fashion จนเป็นแบรนด์แฟชั่นระดับโลก”

  รูปภาพจาก : https://www.marketingoops.com/campaigns/social-media-marketing-digital/zara-no-model/     การแข่งขันทางการค้าขายมีมาตั้งแต่สมั...